วิษณุ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี หมอกระต่าย และ ส.ต.ต ว่า เจ้าของบิ๊กไบก์คือใครไม่สำคัญ ขึ้นอยู่กับใครชน คนนั้นผิด นาย วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์กรณีของ ส.ต.ต.นรวิชญ์ บัวดก เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ขับบิ๊กไบก์ชน พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือ หมอกระต่าย ที่เสียชีวิตบนทางม้าลาย
โดยนายวิษณุระบุว่า จะถือเป็นการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่
ว่า เอาให้มันชัดเจนเสียก่อนว่า จริงๆ มันคืออะไร เพราะยังดูกันอยู่เลยว่า รถมอเตอร์ไซค์เป็นของใคร ถูกกฎหมายหรือไม่ มันลึกลับซับซ้อน และจนสุดท้ายกลายเป็นว่า หมอคนนี้เป็นหมอที่จะรักษานายตำรวจที่ชน ต้องให้ตำรวจเปิดเผยข้อเท็จจริงออกมาว่า เป็นอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีมีทางม้าลาย รถต้องหยุดหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า “ต้องหยุด” เมื่อถามว่า ภาพรวมกฎหมายจราจรควรจะต้องมีการปรับบทลงโทษให้เข้มข้นกว่าเดิมหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า รอให้ทุกอย่างมันชัดเจนก่อน แต่เริ่มต้นคือ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเสียก่อน ส่วนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนั้น อาจจะโดนความผิดกระทงอื่นอะไรไปก็แล้วแต่ ความจริงรถบิ๊กไบค์ จะเป็นของใครไม่สำคัญ แต่สำคัญอยู่ที่ว่า ใครชน คนนั้นก็ต้องผิด แต่ตอนนี้ที่เขากำลังดู คือ เขาจะดูว่า มีเจตนาอะไรแทรกซ้อนอยู่หรือเปล่า
ในสา่วนของประเด็นการบวชได้หรือไม่นั้น กรณีที่นายตำรวจที่ชนแล้วไปบวชจะสามารถบวชได้หรือไม่ เพราะเพิ่งจะทำความผิด นายวิษณุ กล่าวว่า บวชได้ เมื่อถึงเวลาค่อยสึกมา เมื่อถามย้ำว่า ไม่ใช่ลักษณะของการบวชเพื่อหนีความผิดใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า จำไม่ได้หรือกรณีมีพิธีกรผู้ประกาศข่าวทางโทรทัศน์ มีเรื่องและไปบวช ไม่จำเป็นต้องให้คดีจบก่อน เพราะบวชไม่กี่วัน ไม่เป็นไร อย่าหนีก็แล้วกัน
ทั้งนี้ในช่วงเวลาที่นายวิษณุให้สัมภาษณ์นั้น ทางเจ้าคณะเขตยานนาวา ยังไม่ได้ออกมาระบุว่า ผู้ต้องหาอยู่ระหว่างคดีอาญา ไม่สมควรบวช กรณีพระนรวิชญ์ เจ้าอาวาสวัดปริวาสฯ ขอให้ช่วยบวชให้ โดยมีผู้บังคับบัญชามารับรองด้วยตัวเอง แต่หลังบวชพบมีปัญหา จึงจะให้พระนรวิชญ์สึกแล้ว คาดภายในคืนนี้
ร่วงอีก! ไทย อันดับดัชนีการรับรู้การทุจริต หล่นลงมาอยู่ที่ 110
องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ จัด อันดับดัชนีการรับรู้การทุจริต อยู่ที่ 110 หล่นลงมาจากปีที่แล้ว เป็นอันดับ 6 ของอาเซียน องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ หรือ TI ได้เปิดเผย ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ Corruption Perceptions Index หรือ CPI ประจำปี 2564 ซึ่งเป็นการจัดอันดับจาก 180 ประเทศทั่วโลก
โดยประเทศไทย ได้ 35 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 110 ของโลก ซึ่งถือเป็นอันดับที่ลดลงจากปีก่อนที่ได้รับ 36 คะแนน และเป็นอันดับที่ 104 ของโลก ซึ่งหากเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนประเทศอื่นๆจะพบว่าไทยอยู่อันดับที่ 6 ใน 11 ประเทศ
ซึ่งประเทศที่ได้คะแนนมากสุดในกลุ่มอาเซียนคือ สิงคโปร์ ซึ่งอยู่ที่ 85 แต้ม ถัดมาเป็นมาเลเซีย 48 คะแนน ติมอร์-เลสเต 41 คะแนน เวียดนาม 39 คะแนน อินโดนีเซีย 38 คะแนน และไทย 35 คะแนน
ลำดับถัดจากนั้นคือ ฟิลิปปินส์ 33 คะแนน ลาว 30 คะแนน เมียนมาร์ 28 คะแนน กัมพูชา 23 คะแนน ส่วนบรูไน มิได้มีการระบุข้อมูลคะแนนของปี 2564 สำหรับแหล่งข้อมูลของคะแนนจาก CPI ปี 2564 ที่ใช้ในการประเมินมีทั้งสิ้น 9 แหล่งข้อมูล จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ซึ่งจัดคะแนนดังนี้
1.IMD WORLD หรือคะแนนในส่วนการติดสินบนและการทุจริตมีอยู่หรือไม่ และมากน้อยเพียงใดอยู่ที่ 39 คะแนน ลดลง 2 คะแนนเมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ได้ 41 คะแนน
2.BF (IT) หรือการปาบปรามการทุจริตและบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ได้ 37 คะแนน เท่ากับปี 2563
3.EIU หรือความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ได้ 37 คะแนน เท่ากับปี 2563
4.GI หรือการดำเนินการทางธุรกิจ ต้องเกี่ยวข้องกับการทุจริตมากน้อยเพียงใด ได้ 35 คะแนน เท่ากับปี 2563
5.PERC หรือระดับการรับรู้ว่าการทุจริตเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสถาบันทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมากน้อยเพียงใด ได้ 36 คะแนน ลดลง 2 คะแนนเมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ได้ 38 คะแนน
6.PRS หรือการมีอำนาจหรือตำแหน่งทางการเมือง มีการทุจริตโดยใช้ระบบอุปถัมภ์ และระบเครือญาติ และภาคการเมืองกับภาคธุรกิจมีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด ได้ 32 คะแนน เท่ากับเมื่อปี 2563
7.WEF หรือภาคธุรกิจต้องจ่ายเงินสินบนในกระบวนการต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด ได้ 42 คะแนน ลดลง 1 คะแนนเมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ได้ 43 คะแนน
8.WJP หรือเจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางมิชอบมากน้อยเพียงใด ได้ 35 คะแนน ลดลงมากที่สุดถึง 3 คะแนน หากเทียบกับปี 2563 ที่ได้ 38 คะแนน
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป